Blue Snowflake ( ユニか )

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

วันพุธที่17กุมภาพันธ์2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233


บรรยากาศในห้องเรียน
    วันนี้บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานมีเสียงหัวเราะของนักศึกษาและอาจารย์ ชอบเวลาอาจารย์หัวเราะ เหมือนโลกมันสดใส เพื่อนๆต่างก็ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา

สาระความรู้ที่ได้รับ

     เริ่มจากอาจารย์ให้นำไม้ลูกชิ้นที่เตรียมมา ออกมาวางไว้บนโต๊ะ แล้วก็แจกดินน้ำมันให้คนละ1ก้อน หลังจากนั้นก็ให้เลือกไม้ที่เตรียมมามาทำเป็นรูปสามเหลี่ยม  เมื่อทุกคนทำเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมอีกหนึ่งรูป  เมื่อทำรูปทรงสามเหลี่ยมเสร็จแล้ว    รูปทรงสามเหลี่ยมทุกคนมีวิธีการทำที่แตกต่างกันออกไป อาจารย์ก็เลยให้คนที่ทำเเตกต่างกัน ออกไปโชวผลงานหน้าห้องเพื่อให้เพื่อนเห็นถึงความเเตกต่าง  และให้วิเคราะห์ว่าเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมเหมือนกันแต่ทำไมมีลักษณะแตกต่างกัน


หลังจากที่ให้เพื่อนๆดูแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำรูปสี่เหลี่ยมอีกโดยจะใช้ไม้ขนาดใดก็ได้ เมื่อทำรูปสี่เหลี่ยมแล้วก็ให้ทำรูปทรงสี่เหลี่ยมอีก แต่การทำณุปทรงสี่เหลี่ยมไม้ที่ต้องใช้ทำมีจำนวนไม่พอจึงให้จับคู่กับเพื่อนให้ช่วยกันหาวิธีการว่าเราจะทำอย่างไรให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมขึ้นมาได้ เมื่อตกลงกันได้ก็เริ่มทำ และเเล้วก็ทำเสร็จ  จบกิจกรรมของวันนี้

จากกิจกรรมนี้ทำให้เรารู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา วิเคาระห์ปัญหาที่เกิดขึ้น  การเลือกวิธีการแก้ไข  ผลงานที่ได้ 




หลังจากนั้นเพื่อนๆก็ออกมานำเสนองานที่ตัวเองได้รับ

นำเสนอบทความ
คนที่1นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง 

เรื่อง บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ

        บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอน ของคุณครูท่านหนึ่ง ที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ยาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์
      
 แนวการสอนของคุณครูท่านนี้จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆ ได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้กับเด็กด้วย  ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก  ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีให้บทบาทสำคัญ ในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
                   
  1.ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                   
  2.ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
                    
 3.ใช้สื่อที่น่าสนใจ
                    การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้ การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง

บทความจาก : นิตยสาร Kids&School

นำเสนอวิจัย

นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา 

เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ กิจกรรมดนตรี ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ วรินธร สิริเดชะ (2550) เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง, อาจารย์ ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549  ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้เวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค และแบบทดสอบวัดทักษะ พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์
 คู่มือการจัดประสบการณ์ตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค
              
การจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวชูคเวิร์ค ให้กับเด็กสัปดาห์ละ 3 วัน คือในวันจันทร์ พฤหัสบดี  ศุกร์ ระหว่าง เวลา 9.10 - 9.50 น. เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเะพื่อส่งเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.การจัดหมวดหมู่
2.การรู้ค่าจำนวน 1-10
3.การเปรียบเทียบในเรื่องต่อไปนี้
-จำนวน ได้แก่ มาก-น้อย เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
-ปริมาณ ได้แก่ มาก-น้อย หนัก-เบา
-ขนาด ได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ สูง-ต่ำ สั้น-ยาว
-รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4.อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเป็นกิจกรรมดนตรีที่เด็กได้ลงปฏิบัติ โดยผสมกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ได้แก่
- คำพูด (Speech)
-การร้องเพลง (Singing)
-ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)
-การใช้ร่างกายทำจังหวะ (The Use of  Body in Percussion)
-การคิดแต่งทำนองหรือท่าทางแบบทันทีทัน (improvisation)
ซึ่งการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ผสมผสานเข้าไปในกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม ดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของการจัด ประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค สัมพันธ์กับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในการวางแผนการจัดกิจกรรม แต่ละครั้งจึงต้องมีการบูรณาการ เนื้อหาสาระทางด้านคณิตศาสตร์กับดนตรี
เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างสัมพันธ์กัน  เพื่อให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประวงค์ ผู้ดำเนินการควรมีพื้นฐานความเข้าใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาวิทยาการ ดนตรี ควรเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบข้าง ชั่งสังเกต ใจกว้าง ที่จะให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อว่าดนตรีพัฒนาเด็กๆได้ และที่สำคัญ คือ การคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล นอกจากนั้นทุกครั้งก่อนที่จะจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค ในแต่ละครั้ง ผู้ดำเนินการควรมีกาสรตระเตรียมความพร้อมทั้งในด้านของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลายเคลื่องดนตรีต่างๆที่สอดคล้องกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
            ออร์ฟเน้นให้เด็กได้สัมผัสและมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อมากที่สุด โโยเริ่มจากสื่อที่ใกล้ตัวขยายสู่ สื่อที่ไกลออกไป ดังนั่้น สื่อของออร์ฟจึงเริ่มจากร่างกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสำเร็จรูปต่างๆ เช่น เครื่องดนตรี เพลง
            เพลงที่ออร์ฟใช้ในการจัดประสบการณ์ดนตรีแนวออร์ฟชูคเวิร์คนี้มีมาหลากหลาย ทั้งจากเพลงที่ออร์ฟแต่งเอง เพลงที่เด็กแต่งขึ้น และเพลงจากนักแต่งเพลงท่านอื่น ที่สอดคล้องกับหลักการของ ออร์ฟเนื่องจากเพลงที่ออร์ฟแต่งเองมีไม่มากนักและวัตถุประสงค์หลักของการเขียนเพลงของออร์ฟคือ แต่งเพียงเพื่อเป็นแบบ(models) เพื่อการ improvisation ส่วนประกอบที่ออร์ฟใช้แต่งเพลงสำหรับเด็ก คือ
                   1.pentatonic mode(โน้ต 5 ตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์ของเสียง โด เร มี ซอ ลา)
                   2.ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโน้ตซ้ำๆที่เดิมอยู่ตลอดทั้งเพลง
ซึ่งออร์ฟตั้งใจให้เด็กคิดขึ้นมาเอง เช่น เพลง Day Is New Over ซึ่งเป็นเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงง่าย มีทำนองและเนื้อร้อง แบ่งออกเป็นท่อนๆ อย่างแน่นอน มีท่อนล้อและท่อนรับ ซึ่งง่ายต่อการเลียนแบบเพื่อนำไปคิดแต่งทำนอง ต่อด้วยตนเอง
             ดังนั้นในการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมีความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกล้ตัว สิ่งที่ประดิษฐ์เอง และสื่อสำเร็จรูป ผู้ดำเนินการวิจัยจึงจำเป็นต้อง ศึกษาและเรียนรู้วิธีการใช้ และเป้าหมายของสื่อแต่ละชนิดเพื่อนำมาใช้ให้สอดคล้อมกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
            ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าคำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้าน
อนุกรม

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการออกเเบบรูปทรงต่างๆ

การนำมาประยุกต์ใช้
สอนเด็กในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ให้เด็กใช้สิ่งรอบตัวมาทำรูปทรงต่างๆให้เด็กรู้จักการออกแบบการคิดวิเคาะห์


เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์สอนเข้าใจง่าย จะเน้นการสอนที่เห็นภาพด้วยชัดเจน มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัด


ประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถทำตามคำสั่งของอาจารย์ได้ เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์เข้าสาย เนื่องด้วยมีเหตุจำเป็นต้องอยู่ร่วมการเปิดงาน แต่อาจารย์ก้แจ้งให้ทราบก่อน



สรุป การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น