Blue Snowflake ( ユニか )

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14
วันจันทร์ที่25เมษายน พ.ศ.2559 เวลา08.30-12.30
(เรียนชดเชย)

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เป็นวันเรียนชอเชยของทางมหาวิทยาลัยบรรยากาศก็เป็นไปตามปกติเหมือนทุกๆครั้งที่มาเรียนมีเสียงหัวเราะของเพื่อนๆของอาจารย์

สาระการเรียนรู้

  • แผนการจัดประสบการณ์
ให้เเต่ละกลุ่มเอาแผนของแต่ละคนที่ได้รับผิดชอบตามวันมาเขียนใส่ตารางแผนที่ครูแจกให้ และให้เขียนเพิ่มเติมในแผนอื่นๆที่ไม่ใช้แผน  แนวคิด สาระการเรียนรู้ 

กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ 
เป็นผลไม้ มีหลายชนิดแต่ละชนิดมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป

กลุ่มที่2 หน่วยของเล่นของใช้
เป็นสิ่งไม่มีชีวิต มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

กลุ่มที่3 หน่วยกล้วย กล้วย
 เป็นสิ่งมีชีวิตมีหลายประเภทเช่น กล้วยหอม กล้วยไข่

กลุ่มที่4 หน่วยยานพาหนะ
เป็นสิ่งไม่มีชีวิตเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

เมื่อครูอธิบายก็ให้ทุกกลุ่มลงมือทำ

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการใช้หลักการ

การนำมาประยุกต์ใช้
สารถนำวิธีการเขียนแผนต่างๆไปใช้เขียนได้เมื่อเวลาฝึกสอน  นำแผนที่เขียนไปใช้สอนเด็กได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์จะอธิบายทีละขั้นตอนอย่างเข้าใจ และหากใครไม่เข้าใจอะไรก็ถามอาจารย์ได้ตลอด


การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถเขียนแผนตามคำแนะนำของอาจารย์ได้ แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดอีกบ้าง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆสามารถเขียนแผนออกมาได้เป้นอย่างดี แต่ก็ยังมีบางคนที่เขียนยังไม่ค่อยได้

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายสุภาพ สอนอย่างเป็นระบบเพราะมีการวางแผนการสอนมาก่อน




วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13
วันพุธที่20เมษายน พ.ศ.2559 เวลา08.30-12.30 ห้อง401

บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะของนักศึกษาและอาจารย์ทำให้การเรียนวันนี้สนุกไม่น่าเบื่อ ทำให้ไม่ง่วง

สาระการเรียนรู้
  • นำเสนองานกลุ่ม มีทั้งหมด4กลุ่ม 

กลุ่มที่1นำเสนอนิทานเรื่อง  กล้วยน้อยช่างคิด  (หน่วยกล้วย)
      นำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์ของกล้วยโดยนำมาแต่งนิทานให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 

กลุ่มที่2นำเสนอนิทานเรื่องหนูจินสอนเพื่อน  (หน่วยของเล่นของใช้)
       นำเสนอเกี่ยวกับนิทานที่แต่งขึ้นเอง ประโยชน์ของ ของเล่นของใช้ การจับคู่ของสิ่งของเครื่องใช้ โดยจะบอกประโยชน์ของสิ่งของเหล่านี้ผ่านการเล่านิทานทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

กลุ่มที่3นำเสนอนิทานเรื่องประโยชน์ของผลไม้ (หน่วยผลไม้)
     นำเสนอเกี่่ยวกับประโยชนืของผลไม้แต่ละชนิดที่เด็กคุ้นเคย โดยนำมาเเต่งเป็นนิทานและมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นรูปทรงของผลไม้  สี  ขนาดเป็นต้น

กลุ่มที่4นำเสนอนิทานเรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ (หน่วยยานพาหนะ)
    โดยกลุ่มนี้จะบอกถึงการดูแลรักษายานพาหนะ  โดยแต่งนิทานมีเนื้อเรื่องคล้ายๆกับหนูน้อยหมวกแดง มีตัวดำเนินเรื่องคือหมีน้อย


หลังจากที่เพื่อนทุกกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มจนครบทุกกลุ่มแล้วก็ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำเล่มนิทานว่ามีตรงไหนบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

  • นางสาวยุคลธร ศรียะลา ออกมานำเสนอวิจัย (แก้)
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะการนำมาประยุกต์ใช้
  • ทักษะการใช้คำถาม
  • ทักษะการจำแนก
การนำมาประยุกต์ใช้

นำทักษะต่างๆที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้กับเด็กได้เช่น สอนเด็กเรื่องประดยชน์ของผลไม้ก็สามารถพาเด็กทำกิจกรรมการแต่งนิทานร่วมกันได้ 

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์สอนเเบบเข้าใจง่ายให้คำแนะนำและคำปรึกษาได้ดีมาก

ประเมินผล

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและฟังสิ่งที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเเต่ละกลุ่มตั้งใจนำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักเป็นกันเองให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่ดี

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรุ้ครั้งที่12

วันพุธที่30มีนาคม2559 เวลา08.30-12.30 ห้อง401


บรรยากาศใยห้องเรียน


วันนี้เป็นการเรียนต่อจากครั้งที่แล้วที่ครูให้ไปเตรียมการสอนมาสอนให้ดูเป็นตัวอย่าง ในห้องเรียนวันนี้มีทั้งเสียงหัวเราะ  ความเงียบปนกันไป  มีคุยการคุยปรึกษากันในห้องเรียน

สาระการเรียนรู้

  • วันนี้เพื่อนออกมานำเสนอ2คน
คนที่1นายอารักดิ์ ศักอิกุล 

นำเสนองานวิจัยเพิ่มเติม  

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุ่มตัวอย่าง   
       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน
       
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่ใช้ขนมอบประเภทต่างๆ ในการทํากิจกรรม เช่น ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําได้ตามความสามารถ และความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝึกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก


แผนการสอน

ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา  
จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา  
2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส  
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู  
4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู  
5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก  
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหนา
กิจกรรมการเรียนรู  
ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  สีขาว  นิยมทานคูกับแยม    
2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้     
     2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร     
     2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง     
     2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร     
     2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร  
ขั้นสอน   
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง  
 2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง   
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน   
4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย
ขั้นสรุป   
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้    
     1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม    
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร    
     1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน    
     1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ เหมือนกันอยางไรบาง  
สื่อการเรียน  
1. ขนมปงแผนรูป  
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด 
3. เกล็ดช็อกโกแลต  
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน  
5. ผาพลาสติกปูโตะ  
6. ถาดสําหรับใสขนม  
การประเมินผล  
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา  
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   



คนที่2 นางสาวยุคลธร ศรียะลา

นำเสนองานวิจัย

ชื่อวิจัย  ผลของการจัดกิจกรรมหลักการฟังนิทานโดยเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่แบบเป็นกลุ่มและรายบุคคลที่มีต่อทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดย  วิรัตน์  กรองสอาด  คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

                    ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เด็กจะเรียนรู้ด้วยความเข้าใจและคิดหาเหตุผลไม่ใช่การเรียนด้วยการท่องจำ เด็กจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเด็กจึงจะสามารถเรียนในขั้นที่สูงขึ้นไปได้  ดังนั้นคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นมากกว่าวิชาคิดคำนวณซึ่งทักษะต่างๆจะสอดแทรกในกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กตามตารางกิจกรรมประจำวัน

                    การเล่านิทานให้เด็กฟังของครูนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัยการทำกิจกรรมหลังฟังนิทานโดยการวาดแผนที่เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม คือเด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะกิจกรรมวาดแผนที่เด็กต้องใช้ทักษะการสังเกตเพื่อเปรียบเทียบและจำแนก  เพื่อบอกตำแหน่งและใช้การคิดอย่างเป็นระบบต่อการเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง นับว่าสอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ว่า จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและเกิดความรู้ไปด้วย

                   เริ่มการทดสอบโดยการเล่านิทานที่แฝงไปด้วยพื้นฐานของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น รูปทรง ตัวเลข ขนาด  โดยคุณครูได้เปลี่ยนเรื่องเล่าในแต่ละวัน  เมื่อครบวันที่กำหนดในการเล่านิทานคุณครูก็นำแบบทดสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์มาให้เด็กๆได้ลองทำ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือเด็กอายุ 5-6 ปี โดยชุดแรกของการทดสอบคือการนำรูปภาพ 3 รูปมาเรียงต่อกันซึ่งแต่ละรูปจะมีขนาดที่ต่างกันแล้วครูก็ให้โจทย์นักเรียนโดยบอกว่า " เด็กๆช่วยกากบาททับรูปที่เล็กที่สุดให้ครูหน่อยค่ะ " ชุดต่อมาเป็นการทดสอบขนาด ความยาว สูงต่ำ  โดยคุณครูบอกเด็กๆว่า " ให้เด็กๆช่วยกากบาททับรูปบ้านที่สูงที่สุดให้คุณครูหน่อยค่ะ "  อีกชุดคือการทดสอบความแตกต่างของภาพที่เห็นโดยให้เด็กๆเลือกกากบาทสิ่งที่ต่างออกไปจากเพื่อน

                   งานวิจัยเรื่องนี้นำเอานิทานสิ่งใกล้ตัวเด็กและสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กมาใช้สอนได้อย่างถูกวิธี เช่น เรื่องลูกหมาสิบตัวก็สอดแทรกจำนวนนับทั้งสิบทำให้ง่ายต่อการจดจำและการเรียนรู้ของเด็ก  ทำให้เขาเข้าใจ เข้าถึงพื้นฐานของคณิตศาสตร์ได้ง่ายและครบถ้วน อีกทั้งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนานและเกิดความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย  การใช้นิทานสามารถทดสอบความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดีเพราะเด็กได้เรียนรู้ทั้งรูปทรงเรขาคณิต จำนวนนับ  การใช้เหตุผล  การเรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  ขนาด ระยะทาง ซึ่งเป็นการสอนพื้นฐานคณิตศาสตร์สอดแทรกได้อย่างง่ายเลยทีเดียว


หลังจากนั้นก็เป็นการออกมาสอนของเพื่อนๆในแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ทำการสอนวันจันทร์

กลุ่มที่1เรื่องยานพหนะ

สอนให้เด็กทราบถึงประเภทของยานพหนะ การแยกประเภท





 กลุุ่มที่2เรื่องของเล่นของใช้

สอนให้เด็กแยกประเภทของของเล่นของใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย




กลุ่มที่ทำการสอนวันอังคาร

กลุ่มที่1เรื่องผลไม้
สอนให้เด็กรู้จักส่วนประกอบของผลไม้ เช่น รูปทรง ขนาด  สี  รสชาติ  






กลุ่มที่2เรื่อง กล้วย  กล้วย 

สอนให้เด็กรู้จักความแตกต่างของกล้วยหอมทองและกล้วยไข่ ว่ามีความเหมือนเเละแตกต่างกันอย่างไร



ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะกระบวนการคิด
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
  • ทักษะการฟัง
การนำมาประยุกต์

นำหน่วยการเรียนเรียนในวันนี้ทั้ง4หน่วยไปปรับใช้กับเด็กได้จริง ทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิด การตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ สอนเด็กเรื่องการแยกประเภทของสิ่งของในชีวิตประจำวัน

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีการสอนอย่างเป็นระบบแบบแผนที่อาจารยืเตรียมมา มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยํรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เขาใจในสิ่งที่อาจารย์สอน สมารถเขียนแผนตามคำแนะนำของอาจารย์ได้ วันนี้มีข้อผิดพลาดคือการสอนหน้าชั้นเรียนมีอุปกรณ์ไม่ครบ ขาดกระดาษไป1แผ่น เเต่ครั้งหน้าจะทำให้ดีที่สุด

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเเต่ละกลุ่มให้ความร่วมมือตั้งใจฟังเวลาเพื่อนอีกกลุ่มออกมาทำการสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เหมาะสม หากนักศึกษาไม่เข้าใจก็สามารถให้คำตอบได้