บันทึกการเรียนรู้ตรั้งที่9
วันพุธที่9มีนาคม 2559 เวลา08.30-12.30 ห้อง233
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้ อาจารย์เริ่มจากการทบทวนความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ว่ามีการจัดกิจกรรมอย่างไร นักศึกษาได้ความรู้อะไรบ้างจากการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้
สาระความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนนำเสนอวีดีโอ
คนที่1นางสาวภทรธร รัชนิพนธ์
เรื่อง
การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมพิมพ์ภาพจากการแปรสภาพวัสดุธรรมชาติ
หลักการสอนคณิตศาสตร์ไวดังนี้
1. สอนให้สอดคลองกับชีวิตประจําวันการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็น
ความจําเป็น และประโยชนของสิ่งที่ครูกําลังสอนดังนั้น การสอนคณิตศาสตร์แกเด็กจะต้อง
สอดคลองกับกิจกรรมในชีวิตประจําวัน เพื่อให้เด็กตระหนักถึงเรื่องคณิตศาสตร์ทีละน้อย
และ ช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในขั้นตต่อไปแต่สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ
การให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อนกับครูลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
2. มีเป้าหมายและมีการวางแผนที่ดีครูจะต้องมีการเตรียมการเพื่อให้เด็กไดค่อย
ๆ พัฒนาการเรียนรูขึ้นเองและเป็นไปตามแนวทางที่ครูวางไว
3. เปิดโอกาสใหเด็กไดรับประสบการณ์ที่ทําให้พบคําตอบด้วยตนเอง
เปิดโอกาส ให้เด็กไดรับประสบการณ์ที่หลากหลาย และป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
มีโอกาสไดลง มือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการสนับสนุนใหเด็กไดคค้นพบคําตอบด้วยตนเอง
พัฒนาความคิดรวบยอด และความคิดรวบยอดไดเองในที่สุด
4. เอาใจใสเรื่องการเรียนรู้และลําดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
ครู ตองมีการเอาใจใสเรื่องการเรียนรูเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะลําดับขั้น
การพัฒนาความคิดรวบ ยอด ทักษะทางคณิตศาสตร์โดยคํานึงถึงหลักทฤษฎี
5. ใช้วีการจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
การจด บันทึกด้านทัศนคติ ทักษะ และความรูความเข้าใจของเด็ก ในขณะทํากิจกรรมต่าง
ๆ เป็นวิธีการที่ทําให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมไดเหมาะสมกับเด็ก
บทบาทของครูในการจัดประสบการณด้านคณิตศาสตร์ กล่าววา การจัดประสบการณและกิจกรรมทางด้าน
คณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสําหรับเด็กปฐมวัย ตองมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผู้เกี่ยวของ
43 ตองศึกษาและทําความเข้าใจเพื่อจะไดดําเนินการไดอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด ซึ่งมีนักการศึกษาไดเสนอแนะบทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
สรุปถึงบทบาทของครูว่า การจัดการเรียนการสอนของครูที่มีคุณภาพ ควรจะเป็นปัจจุบันกับเหตุการณ์และไม่เป็นทางการ
แตไม่ได้หมายความว่าจะมีการวางแผนหรือไมมีระบบบทบาทของครูในการจัดประสบการณ์ ด้านคณิตศาสต์รสําหรับเด็กปฐมวัย
ครูจะต้องมีความรับผิดชอบสูงมีการวางแผนการจัดสิ่งแวดล้อม แหล่งการเรียนรู้ให้กับเด็กซึ่งจะทําให้เด็กแสวงหาคําตอบ
การจัดกิจกรรมเหล่านี้เป็นการวางพื้นฐาน ความคิดรวบยอดคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
คนที่2นางสาวจิราภรณ์ ฝักเขียว
เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
โดยคุณครูรจนา
สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ได้สอนกิจกรรมเสริม
ประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่
ชนิดของไข่ส่วนประกอบ
ของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่
แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้
กิจกรรมที่ 1
คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น
กิจกรรมที่ 2
ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่ม
มากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาใน
นิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย
กิจกรรมที่ 3
ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต
จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ
นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน
โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี
10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง
ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน
หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีน้ำตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า
ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน
ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่
กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง
ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถกะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี
เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
คนที่3นางสาวสุวนันท์ สายสุด
นำเสนอ วิจัย
(แก้ไข) เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียน รู้
-ความมุ่งหมายของวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
-สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี
พัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
-ขอบเขตการวิจัย
นักเรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง
-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
-สรุปผลวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก
ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี
และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น
-แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้
หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนท้ศน์
ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์
สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้
กิจกรรมศิลปะ
ศิลปะค้นหา
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ
ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ
กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
ขั้นสอน
1.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน
บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
2.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น
เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
3.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ
ขั้นสรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้
สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)
ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก
- อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอนแบบโปรเจค คือ
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก
ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
- การจัดห้องตามสภาพแวดล้อม
- การนับเลข 531 357
หลังจากที่อาจารย์ทบทวนความรู้ให้แล้ว ก็ให้เพื่อนออกมานำเสนอหัวข้องานที่ตนเองได้รับผิดชอบ เมื่อนำเสนอครบทุกคนแล้ว ก็แจกกระดาษให้คนละ1 แผ่น แล้วให้ตั้งชื่อหน่วยว่าเราจะทำหน่วยอะไร โดยหน่วยที่ตั้งจะต้องเกี่ยวข้องกับ 4 ข้อนี้
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
- บุคคลและสถานที่
- ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
ดิฉันเลือกทำหน่วยผลไม้ จะเชื่อมโยงกับหัวข้อที่4 คือธรรมชาติรอบตัวเด็ก
- ชนิดของผลไม้
- ลักษณะของผลไม้
- รสชาติของผลไม้
- กลิ่นของผลไม้
- ขนาดของผลไม้
- รูปร่างของผลไม้
- สีของผลไม้
- พื้นผิวของผลไม้
- ประโชยน์ของผลไม้
- วิธีการเจริญเติบโตของผลไม้
หลังจากที่เพื่อนๆ ทุกคนทำเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้นำไปส่งแล้วนั่งอ่านของทุกคนว่ามีตรงไหนต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมบ้างตามความเหมาะสมของหัวข้อ เมื่อตรวจครบทุกคนก็ให้แบ่งกลุ่มเพื่อจะให้เลือกหัวข้อของใครคนใดคนหนึ่งมา เพื่อจะมานำเสนอในสัปดาห์หน้า
ทักษะที่ได้รับ
- การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
- กระบวนการทำ
- การวางแผน
- การเลือกหัวข้อ
การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนในวันนี้ไปใช้กับเด็กได้ อย่างเช่นการสอนเรื่องผลไม้ อาจจะให้เด็กๆช่วยคิดชื่อผลไม้ ประโยชน์ของผลไม้ สีของผลไม้ ว่ามีสีอะไรบ้าง ทำให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น
เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์จะมีการเตรียมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี จะสอนแบบให้นักศึกษาเข้าใจจริงๆ ถึงจะผ่านเรื่องนั้นไป แต่ถ้านักศึกษายังไม่เข้าใจ จะไม่ปล่อยผ่านไปเด็ดขาด
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้เป็นวันที่ต้องออกไปนำเสนอบทความ แต่บทความที่เตรียมมายังไม่ดีพอ เลยต้องแก้ไข หาบทความใหม่ไปนำเสนอในอาทิตย์ถัดไป
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานของตนเองที่ได้รับผิดชอบ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเหมาะสม สุภาพ มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี
หาบทความเพิ่มเติม
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (ครั้งที่5 ฉบับ ปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
คณิตศาสตร์กับชีวิต
ในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ
การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข
เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม
ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม
คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน
ดังนี้คือ (1) หาสิ่งที่ต้องการทราบ (2) ว่างแผนการแก้ปัญหา (3)ค้นหาคำตอบ (4)ตรวจสอบ
จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ
เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ
ระเบียบ
จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง
สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่
การคำนวณในเรื่องของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร
ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย นอกจากนนี้ยังมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย
ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุมการทำงาน
การสร้างที่อยู่อาศัย
เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง
ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย
เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้แก่ ปูน หิน
ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย โดยการผสมปูน
ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกันในการใช้งานเช่น
พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน
การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม
เป็นต้น
การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต
มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล
การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น
การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป
ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด
ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน
วิจัย
การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ
การวางแผนการทำงานในรูปแบบต่างๆ ล้วนสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง
ผู้เขียนในฐานะที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่กกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ของคณิตศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป