Blue Snowflake ( ユニか )

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

วันพุธที่27มกราคม2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233

บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์เริ่มต้นด้วยการแจกกระดาษแผ่นเล็กๆมาหนึ่งแผ่น จากนั้นก็ให้เเต่ละคนเขียนชื่อของตนเองลงไปในกระดาษให้มีความพอดี เมื่อเขียนเสร็จเเล้วก็ใหเอาไปติดไว้หน้าห้อง จะมีเขียนไว้ว่ามาเรียนกับไม่มาเรียน ใครที่มาเเล้วก็ให้เอาไปติดในช่องที่มา เมื่อติดครบทุกคนแแล้ว บนกระดานมันดูไม่เป็นระเบียบมากนักอาจารยืจึงให้นักศึกษาช่วยกันคิดหาวิธีว่าเราจะทำอย่างไรให้ป้ายชื่อที่เราเอาไปติดมีระเบียบและสั้นลงมากกว่านี้ เมื่อเวลาผ่านไปก็มีคนคิดออกว่าให้แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ5คน นอกจากจะเป็นระเบียบแล้วยังง่ายต่อการเช็คชื่ออีกด้วย
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อน3คน ออกไปนำเสสนอตามหัวข้อที่ตนเองได้รับ เพื่อนคนเเรกนำเสนอบทความ เรื่องเสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล  คนที่สองนำเสนอวิจัยเรื่อง                                           คนที่สามนำเสนอวีด๊โอจากโทรทัศน์ครูเรื่องการสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทาน     หลังจากที่เพื่อนทั้งสามคนนำเสสนอเสร็จแล้วอาจารย์ก็พาเข้าสู่บทเรียน


สาระความรู้ที่ได้รับ

เพลงคณิตศาสตร์
เพลง สวัสดียามเช้า ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
เพลง สวัสดีคุณครู สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน ยามเช้าเรามาโรงเรียน ยามเช้าเรามาโรงเรียน หนูจะพากเพียรอ่านเขียนเอย หนูจะพากเพียรอ่านเขียน
เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
เพลง เข้าแถว เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน อย่ามัวแชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน ระวังเดินชนกัน เข้าแถวพลันว่องไว
เพลงจัดแถว สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลง ซ้าย ขวา ยืนให้ตัวตรงก้มลงตบมือแผละ แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลงขวดห้าใบ ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ) เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่ . . . ลดลงไปเรื่อยๆ ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์นั้นมีประโยขน์ในการทำกิจกรรมเพื่อเรียกความสนใจจากเด็กเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นเพลงง่ายๆ และเป็นการสอดแทรกกิจกรรมประจำวันลงไปในเพลงเพื่อการสอนในน่วยต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์ จะทำให้เด็กชอบในการเรียนคณิตศาสตร์ทำให้คณิตศาสตร์ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป


คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

ตัวเลข  ขนาด   รูปร่าง  ที่ตั้ง  ค่าของเงิน  ความเร็ว อุณหภูมิ

คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ

กว้าง ยาว สูง ต่ำ

สาระที่1
จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการเเสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
การเปรียบเทียบจำนวน
การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแบ่งกลุ่ม

ความหมายของการรวม
การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน10

สาระที่2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว ปริมาตร น้ำหนัก เงิน เวลา
เงิน
ชนิดเเละค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา
ช่วงเวลาในแต่ละวัน
ชื่อวันในสัปดาห์

สาระที่3 เรขาคณิต
รู้จักใช้ทิศทางในการบอกตำแหน่ง และระยะทาง
จำเเนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจาดกาารกระทำ

ทักษะที่ได้รับ

  • การคิดวิเคาะห์อย่างมีเหตุผล
  • การออกแบบและการคิดสร้างสรรค์
  • การใช้ตัวเลขแสดงจำนวนการมาเรียนของเด็ก
  • การนับจำนวน
  • การสร้างแรงจูงใจที่ทำให้เด็กอยากมาเช้า
การนำมาประยุกต์ใช้
  • การเรียงชื่อเด็กว่าใครมาก่อนมาหลัง 
  • เช็คการมาเรียนของเด็ก
  • สอนเด็กนับจำนวน จากตัวเลขที่เพื่อนมา ไม่มา
  • นำเพลงคณิตศาสตร์ไปสอนเด็กทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ
เทคนิคการสอนของอาจารย์
การสอนของอาจารย์จะพูดให้นักศึกษาเข้าใจถ้ายังไม่เข้าใจก็จะพูดย้ำให้เข้าใจให้เเต่ละคนได้มีส่วนร่วมในการคิด มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน

ประะเมินผล
ประเมินตนเอง
รู้และเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน รู้จักคำศัพท์ที่เด็กควรรู้ ความหมายของการแยก การรวม 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์ได้ 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์พูดเข้าใจ แต่งกายเรียบร้อย มีการเตรียมการสอนมาล่วงหน้าทำให้การสอนของอาจารย์เป็นไปได้ด้วยดี




















วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้้งที่3

วันพุธที่20มกราคม2559 เวลา08.30-12.30 ห้อง233

บรรยากาศในห้องเรียน

บรรยากาศในห้องเรียนก็เป็นเหมือนทุกๆครั้งมีเสียงหัวเราะทั่วห้องไม่เครียดแต่วันนี้หนาวมากจนทำให้ง่วง

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • คณิตศาสตร์มีวิธีคิดแตกต่างกันแต่มีเป้าหมายเหมือนกัน
  • การเเบ่งกระดาษให้เป็น4ส่วนมีการเเบ่งได้หลายวิธี
  • ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • คุณภาพของเด็กเมื่อจยการศึกษาปฐมวัย
          -มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
          -มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินตราเเละเวลา
          -มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
          -มีความรู้ความเข้าใจรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
          -มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนอย่าง่าย
          -มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
  • การสอนเด็กต้องมีระเบียบวินัย
  • การเเบ่งสัดส่วนของกระดาษเขียนให้สมดุลกับกระดาษ
  • การคิด/หลักการคิดอย่างมีเหตุ

ทักษะที่ได้รับ
  • การเขียนจะต้องเขียนจากซ้ายไปขวา
  • การสอนเด็กต้องมีระเบียบ
  • ทิศทางข้อกำหนดในการใช้กระดาษ
  • การเขียนให้อยู่ภายในกรอบ
  • ความคิดสร้างสรรค์ในการเขียนชื่อให้สมดุลกับกระดาษ
  • การทำอะไรที่สม่ำเสมอเด็กก็จะมองเเนวทางเป็นแบบอย่าง
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สอนทักษะการนับเลขให้เด็กปฐมวัย
  • การสอนเด็กต้องมีระเบียบวินัย
เทคนิคการสอนของอาจารย์
  • มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมของความเป็นครู
  • มีการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา
  • มีการพูดคุยกับนักศึกษาแบบเป็นกันเอง
  • ทบทวนความรู้ให้ตอนท้ายคาบ
ประเมินผล

ประเมินตนเอง
รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการสอนคณิคศาสตร์สำหรบเด็กปฐมวัย  ไม่เข้าใจก็จะยกมือถาม ตั้งใจเรียน ฟังในสิ่งที่ครูสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุก อารมณ์ดี แต่งกายสุภาพ        
          

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่2

วันพุธที่13มกราคม2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233

สรุปวีดีโอ
เรื่อง: ครูมืออาชีพตอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ประเทศอังกฤษ เรียกการสอนว่า เลขหมุนรอบตัวเรา

การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สามารถพัฒนาได้ไกล ครูจะทุมเทมุ่งมานะหาว่าเด็กมีความสนใจในด้านอะไรแล้วนำมาวางแผนซึ่งในการหาว่าเด็กมีความสนใจอะไรและวางแผนต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นอย่างมาก เด็กจะรู้สึกดีมากเมื่อรู้ว่าพวกเขาสามารถนำสิ่งที่ตนเองชอบนั่นมาเรียนได้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและครูเป็นปัจจัยหลักที่นำความสำเร็จมาให้ 

การสอนของประเทศอังกฤษ
ก่อนเริ่มการเรียนการสอนจะให้เด็กอบอุ่นร่างกาย เช่น หายใจแรงๆเคลื่อนไหวไปมา เพื่อจะกระตุ้นเด็กๆให้สดชื่น จากนั้้นก็จะพาเด็กเต้น ร้องเพลง ทำท่าทางต่างๆ และก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาหลักตามที่บทเรียนกำหนดไว้จะให้เด็กๆทำท่าทางต่างๆที่เกี่ยวกับตัวเลข สิ่งสำคัญในการเรียนคือต้องให้เด็กรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ทำเด็กจะได้มีความกระตื้อรือร้นอยากมาเรียน จะมีการใช้สัญลักษณ์และท่าทางเพื่อทำให้คณิตศาสตร์ซึมซับเขาไปในตัวตนของเด็กมากขึ้นทำให้เด็กรู้สึกเป็นเจ้าของครอบครองคณิตศาสตร์ เวลาเบวกเลขเด็กๆจะใช้สัญลักษณ์เหล่านี้ ทำให้พวกเขาเกิดความคิดล่วงหน้าเสมอ ครูผู้สอนต้องมั่นใจและสนุกกับการสอน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

วันพุธที่13มกราคม2559 เวลา08.30-12.30 ห้อง233

สรุปบทความ
เรื่อง:หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ลักษณะการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
การจัดประสงการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน และผู้ใหญ่ จนเกิดการเรียนรู้ หลักในการจัดประสบการณ์
หลักในการจัดประสบการณ์ที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1.
จัดให้สอดคล้องกับวัย และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
2.
เน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง
3.
จัดสภาพแวดล้อม และบรรยากาศการเรียนรู้
4.
วางแผนกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน และ ชัดเจน
5.
ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก
6.
สร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทาง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในกิจกรรมเสรี
1.
เกมการศึกษา ประกอบด้วย เกมพื้นฐานทั่วไป เกมคณิตศาสตร์ เกมเสริมทักษะคณิตศาสตร์
2.
กิจกรรมเล่นตามมุม หรือเสริมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ศูนย์บ้าน ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์หนังสือ ศูนย์เล่นบล็อก ศูนย์ดนตรี ศูนย์เครื่องเล่นสัมผัส ศูนย์ปั้น และศูนย์ศิลปะ

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในกิจกรรมเสริมหลักสูตร
กิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก กิจกรรมเสริมหลักสูตรส่วนใหญ่ จะจัดไว้ตอนบ่าย หรือหลังเลิกเรียน ได้แก่ การเรียนคณิตคิดเร็ว เกมการศึกษา และคอมพิวเตอร์ หรือบางครั้งอาจจะเป็นกิจกรรมทัศนะศึกษา หรือการศึกษานอกสถานที่ก็ได้

การสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์นี้ จะจัดขึ้นตามความเหมาะสม และจัดให้สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้ ตามความสนใจของเด็ก เช่น การทำขนม การเล่นโคลน การทดลองต่างๆ และ เป็นศูนย์ที่เด็กใช้ฝึกทักษะที่เด็กต้องการได้รับในการสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้น ควรจัดเป็นพิเศษในบางครั้ง เพราะจะทำให้เด็กกระตือรือร้น และสนใจเรียนมากขึ้น 



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

วันพุธที่13มกราคม2559   เวลา08.30-12.30ห้อง233

สรุปวิจัย

เรื่อง  การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามมารถทางคณิตสาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โรงเรียนอนุบาลเวียงเชียงรุ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต1

 ชื่อผู้วิจัย : นางมณีวัลย์ จันระวังยศ ปริญญา:ครุศาสตรมหาบัญฑิต
 สาขาวิชา:หลักสูตรและการสอน  ปีการศึกษา:2551

        อธิบายกระบวนการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านการนับ ตัวเลข การจับคู่ การจัดประเภทของเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
     การศึกษาการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามเเนวคิดคอนสตรัคติวิสต์  สรุปได้ดังนี้

การนับ
   ผลการประเมินพัฒนาการด้านการนับก่อนการจัดประสบการณ์ด้านความสามารถ คนที่1 ได้ระดับคุณภาพ1 หมายถึงปรับปรุง คนที่4,5,8,9,10  ได้ระดับคุณภาพ2   หมายถึงพอใช้  หลังจากการจัดประสบการณ์การด้านความสามารถ คนที่1 ได้ระดับคุณภาพ3 หมายถึงดี คนที่4ได้ระดับ คุณภาพ4 หมายถึงดีมาก คะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ2.20หมายถึงอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับพอใช้ คะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ 3.40 หมายถึงอยู่ในเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับดี

ตัวเลข
    ผลการประเมินพัฒนาการด้านตัวเลขก่อนการจัดประสบการณ์ด้านความสามมารถทางคณิตศาสตร์ คนที่1,3,7,8,10 ได้ระดับคุณภาพ2  หมายถึงพอใช้ หลังการจัดประสบการณ์คนที่ได้ระดับคุณภาพ3 หมายถึงดี ส่วนคนที่3,7,8,10 ได้ระดับคุณภาพหมายถึงดีมาก คะเเนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ 2.50 หมายถึง อยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพพอใช้ คะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ 3.70 หมายถึง อยู่ในเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับดีมาก

การจับคู่
    ผลการประเมินพัฒนาการด้านกาารจับคู่ก่อนการจัดประสบการณ์คนที่1,2,3,5,6,9,10ได้ระดับคุณภาพหมายถึงพอใช้ หลังการจัดประสบการณ์คนที่2,10 ได้ระดับคุณภาพ4 หมายถึงดีมาก คะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ2.39 หมายถึง อยู่ในเกณฑ์ประเมินคุณภาพระดับพอใช้ คะเเนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ 3.50 หมายถึง อยู่ในเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับดี

การจัดประเภท
   ผลการแระเมินพัฒนาการการจัดประเภทก่อนการจัดประสบการณ์คนที่1,6,9 ได้ระดับคุณภาพหมายถึง ปรับปรุง หลังการจัดประสบการณ์ทั้งสามคนได้ระดับคุณภาพหมายถึงดี คะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ1.90 หมายถึงอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับพอใช้ คะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาอยู่ในระดับคุณภาพ3.50 หมายถึงอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับดี


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

วันพุธที่13มกราคม2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233

บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนานความเป็นกัยเองของอาจารย์ผู้สอนมีเสียงหัวเราะของนักศึกษาและอาจารย์ เวลาอาจารย์หัวเราะทำให้นักศึกษายิ้มตามแบบมีความสุขมากทำให้ภายในห้องเรียนไม่เครียด

สาระความรู้ที่ได้รับ

  •  คณิตศาสตร์ไม่เพียงมีแต่อยู่ในห้องเรียน เพราะไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดของโลกเราก็ต้องใช้คณิตศาสตร์ในการดำรงชีวิต  คณิตศาสตร์คือการคิดคำนวณในชีวิตประจำวันที่มีองค์ประกอบต่างๆเช่น
  1.  การทำอาการหารคือการคำนวณสัดส่วนของอาหาร
  2. การชั่งน้ำหนัก/ส่วนสูง 
  3. การใช้จ่ายซื้อของในชีวิตประจำวัน
  4. การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร
  • คณิตศาสตร์และภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เช่น
  1. การเรียนการสอนที่ต้องมีคณิตศาสตร์ไปเกี่ยวข้อง
  2. การตวง การวัดในวิชาวิทยาศาสตร์
  3. หุ้น/ภาษีของผู้มีรายได้
  • กาารจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  1. การจัดประสบการณ์
          -หลักสูตร
          -หลักการ
          -แนวทาง
          -แผนการจัดประสบการณ์
          -การจัดประสบการณ์โอยผู้ปกครอง
          -สื่อคณิตศาสตร์

     2.  คณิตศาสตร์
          -ความหมาย
          -ประโยชน์
          -ความสำคัญ
          -สาระ
          -ทักษะ

     3. เด็กปฐมวัย
        -ความหมาย
        -พัฒนาการ
        -การเรียนรู้

ทักษะที่ได้รับ
  • การแจกกระดาษให้หยิบไว้ที่ตัวเอง1แผ่นแล้วส่งที่เหลือให้เพื่อน
  • การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล คือ ทำไมกระดาษเหลือ ที่กระดาษเหลือเพราะกระดาษมีจำนวนมากกว่าคน
  • การคิด/ร้อยละ/จำแนก/การคำนวณ
  • การคิดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การนำมาประยุกต์ใช้
  • นำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันคือ การคำนวณอัตตราส่วนของอาหาร 
  • การชั่งน้ำหนักส่วนสูงเพื่อมาคำนวณสัดส่วนของร่างกาย 
  • การคำนวณตัวเลขรายรับรายจ่ายในชีวิตประจำวัน
เทคนิคการสอนของอาจารย์

  • การสอนของอาจารย์จะเป็นการเริ่มพูดคุยกับนักศึกษา
  • แจกกระดาษให้ส่งต่อไปเรื่อยๆจนครบเพื่อให้นักศึกษามีการแก้ไขปัญหา 
  • ให้นักศึกษาช่วยกันคิดค้นหาคำตอบหาความหมาายของสิ่งต่างๆของให้เอามารวมเป็นคำพูดเดียวกัน 
  • มีคุณธรรมจริยธรรมเข้ามาสอดแทรก ในการใช้ชีวิตประจำวัน แนวทางการปฏิบัติตน การพูดอย่างมีเหตุ
  • ช่วยกันสรุปสิ่งที่เรียน
ประเมินผล

ประเมินตนเอง
มีความรู้เพิ่มมากขึ้น รู้ความหมายของคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นจากเดิม สามารถตอบในสิ่งที่อาจารย์ถามได้เป็นบางครั้ง  เวลาไม่เข้าใจก็จะยกมือถามทันที

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถาม เวลาไม่เข้าใจตรงไหนก็จะยกมือถาม 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุก ทำให้ไม่เครียด เวลานักศึกษาไม่เข้าใจงานที่สั่งก้จะอธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ แต่งกายเหมาะสมสำหรับการเป็นครู


วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

วันพุธที่6มกราคม2559  เวลา 08.30-12.30 ห้อง233


บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เรียนในรายวิชานี้ ทำให้ช่วงแรกๆที่เข้าไปนั่งในห้องเรียนเกิดความเกร็งเล็กน้อยเพราะยังไม่เคยเรียนกับอาจารย์ยังไม่ทราบทัศนคติของอาจารย์แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณสักครึ่งชั่วโมงก็เริ่มผ่อนคลายเพราะอาจารย์และนักศึกษาได้เริ่มทำความรู้จักกัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนเริ่มมีเสียงหัวเราะของนักศึกษาและตัวของอาจารย์ผู้สอน

สาระความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์แนะนำเเนวทางในการทำบล็อคเพิ่มเติมจากที่นักศึกษามีความรู้อยู่แล้วบ้างเป็นบางส่วนการออกแบบบล็อคอย่างไรให้น่าสนใจ บล็อคที่ทำนั่นจะต้องประกอบไปด้วย

  • อาจารย์ประจำวิชา
  • คณะและมหาวทยาลัย
  • ชื่อของผู้จัดทำ
  • ปฏิทิน (สำหรับเอาไว้ดูวันที่)
  • นาฬิกา
  • ความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวกัยรายวิชาที่เรียน  ............เป็นต้น

และการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนควรพูดอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาสม

ทักษะที่ได้รับ

  • การคิดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • การเเบ่งกระดาษเราจะเเบ่งอย่างไรให้เท่ากันและเร็วที่สุด
  • การใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นสื่อประกอบการเรียน
  • การเลือกและการออกแบบ
  • การเรียนเพื่อสรุปการเรียนรู้
การนำมาประยุกต์ใช้
  • นำทักษะที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้กับการเรียนในวิชาอื่นๆได้เช่นการเลือกและการออกแบบสามารถนำไปใช้ในการทำสื่อการสอนได้ การออกแบบให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
เทคนิคการสอนของอาจารย์
จากที่สังเกตการสอนของอาจารย์ตั้งแต่ต้นคาบอาจารย์จะให้แบ่งกระดาษแล้วเขียนตัวตนของตนเองลงไปในกระดาษเพื่อง่ายต่อการจำของอาจรย์ อาจารย์จะยืนสอนและเดินไปใกล้ชิดกับนักศึกษาไม่ค่อยเห็นอาจารย์นั่ง 

ประเมินผล

ประเมินตนเอง
วันนี้เป็นการเรียนวันแรกและเป็นคาบเช้าไปถึงห้องก่อนที่อาจารย์จะเข้าสอน จดรายละเอียดที่อาจารย์สังงานมาทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อาจารย์บอกในวันนี้ 
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนมาถึงห้องก่อนที่อาจารย์จะเข้าสอนเช่นกัน เพื่อนๆเเต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียน ไม่เข้าใจอะไรก็จะยกมือถาม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษาให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน ให้นักศึกษาได้แสงความคิดเห็น แต่งกายสุภาพ มีคำพูดที่ทำให้นักศึกษาอารมณ์ดีทำให้ไม่เครียดระหว่างเรียน