Blue Snowflake ( ユニか )

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

วันพุธที่17กุมภาพันธ์2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233


บรรยากาศในห้องเรียน
    วันนี้บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานมีเสียงหัวเราะของนักศึกษาและอาจารย์ ชอบเวลาอาจารย์หัวเราะ เหมือนโลกมันสดใส เพื่อนๆต่างก็ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา

สาระความรู้ที่ได้รับ

     เริ่มจากอาจารย์ให้นำไม้ลูกชิ้นที่เตรียมมา ออกมาวางไว้บนโต๊ะ แล้วก็แจกดินน้ำมันให้คนละ1ก้อน หลังจากนั้นก็ให้เลือกไม้ที่เตรียมมามาทำเป็นรูปสามเหลี่ยม  เมื่อทุกคนทำเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมอีกหนึ่งรูป  เมื่อทำรูปทรงสามเหลี่ยมเสร็จแล้ว    รูปทรงสามเหลี่ยมทุกคนมีวิธีการทำที่แตกต่างกันออกไป อาจารย์ก็เลยให้คนที่ทำเเตกต่างกัน ออกไปโชวผลงานหน้าห้องเพื่อให้เพื่อนเห็นถึงความเเตกต่าง  และให้วิเคราะห์ว่าเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมเหมือนกันแต่ทำไมมีลักษณะแตกต่างกัน


หลังจากที่ให้เพื่อนๆดูแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำรูปสี่เหลี่ยมอีกโดยจะใช้ไม้ขนาดใดก็ได้ เมื่อทำรูปสี่เหลี่ยมแล้วก็ให้ทำรูปทรงสี่เหลี่ยมอีก แต่การทำณุปทรงสี่เหลี่ยมไม้ที่ต้องใช้ทำมีจำนวนไม่พอจึงให้จับคู่กับเพื่อนให้ช่วยกันหาวิธีการว่าเราจะทำอย่างไรให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมขึ้นมาได้ เมื่อตกลงกันได้ก็เริ่มทำ และเเล้วก็ทำเสร็จ  จบกิจกรรมของวันนี้

จากกิจกรรมนี้ทำให้เรารู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา วิเคาระห์ปัญหาที่เกิดขึ้น  การเลือกวิธีการแก้ไข  ผลงานที่ได้ 




หลังจากนั้นเพื่อนๆก็ออกมานำเสนองานที่ตัวเองได้รับ

นำเสนอบทความ
คนที่1นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง 

เรื่อง บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ

        บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอน ของคุณครูท่านหนึ่ง ที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ยาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์
      
 แนวการสอนของคุณครูท่านนี้จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆ ได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้กับเด็กด้วย  ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก  ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีให้บทบาทสำคัญ ในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
                   
  1.ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
                   
  2.ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
                    
 3.ใช้สื่อที่น่าสนใจ
                    การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้ การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง

บทความจาก : นิตยสาร Kids&School

นำเสนอวิจัย

นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา 

เรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ กิจกรรมดนตรี ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ วรินธร สิริเดชะ (2550) เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง, อาจารย์ ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549  ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้เวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค และแบบทดสอบวัดทักษะ พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์
 คู่มือการจัดประสบการณ์ตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค
              
การจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวชูคเวิร์ค ให้กับเด็กสัปดาห์ละ 3 วัน คือในวันจันทร์ พฤหัสบดี  ศุกร์ ระหว่าง เวลา 9.10 - 9.50 น. เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเะพื่อส่งเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.การจัดหมวดหมู่
2.การรู้ค่าจำนวน 1-10
3.การเปรียบเทียบในเรื่องต่อไปนี้
-จำนวน ได้แก่ มาก-น้อย เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
-ปริมาณ ได้แก่ มาก-น้อย หนัก-เบา
-ขนาด ได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ สูง-ต่ำ สั้น-ยาว
-รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4.อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเป็นกิจกรรมดนตรีที่เด็กได้ลงปฏิบัติ โดยผสมกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ได้แก่
- คำพูด (Speech)
-การร้องเพลง (Singing)
-ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)
-การใช้ร่างกายทำจังหวะ (The Use of  Body in Percussion)
-การคิดแต่งทำนองหรือท่าทางแบบทันทีทัน (improvisation)
ซึ่งการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ผสมผสานเข้าไปในกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม ดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของการจัด ประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค สัมพันธ์กับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในการวางแผนการจัดกิจกรรม แต่ละครั้งจึงต้องมีการบูรณาการ เนื้อหาสาระทางด้านคณิตศาสตร์กับดนตรี
เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างสัมพันธ์กัน  เพื่อให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวบรรลุตามวัตถุประวงค์ ผู้ดำเนินการควรมีพื้นฐานความเข้าใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาวิทยาการ ดนตรี ควรเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบข้าง ชั่งสังเกต ใจกว้าง ที่จะให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อว่าดนตรีพัฒนาเด็กๆได้ และที่สำคัญ คือ การคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล นอกจากนั้นทุกครั้งก่อนที่จะจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค ในแต่ละครั้ง ผู้ดำเนินการควรมีกาสรตระเตรียมความพร้อมทั้งในด้านของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลายเคลื่องดนตรีต่างๆที่สอดคล้องกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
            ออร์ฟเน้นให้เด็กได้สัมผัสและมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อมากที่สุด โโยเริ่มจากสื่อที่ใกล้ตัวขยายสู่ สื่อที่ไกลออกไป ดังนั่้น สื่อของออร์ฟจึงเริ่มจากร่างกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสำเร็จรูปต่างๆ เช่น เครื่องดนตรี เพลง
            เพลงที่ออร์ฟใช้ในการจัดประสบการณ์ดนตรีแนวออร์ฟชูคเวิร์คนี้มีมาหลากหลาย ทั้งจากเพลงที่ออร์ฟแต่งเอง เพลงที่เด็กแต่งขึ้น และเพลงจากนักแต่งเพลงท่านอื่น ที่สอดคล้องกับหลักการของ ออร์ฟเนื่องจากเพลงที่ออร์ฟแต่งเองมีไม่มากนักและวัตถุประสงค์หลักของการเขียนเพลงของออร์ฟคือ แต่งเพียงเพื่อเป็นแบบ(models) เพื่อการ improvisation ส่วนประกอบที่ออร์ฟใช้แต่งเพลงสำหรับเด็ก คือ
                   1.pentatonic mode(โน้ต 5 ตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์ของเสียง โด เร มี ซอ ลา)
                   2.ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโน้ตซ้ำๆที่เดิมอยู่ตลอดทั้งเพลง
ซึ่งออร์ฟตั้งใจให้เด็กคิดขึ้นมาเอง เช่น เพลง Day Is New Over ซึ่งเป็นเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงง่าย มีทำนองและเนื้อร้อง แบ่งออกเป็นท่อนๆ อย่างแน่นอน มีท่อนล้อและท่อนรับ ซึ่งง่ายต่อการเลียนแบบเพื่อนำไปคิดแต่งทำนอง ต่อด้วยตนเอง
             ดังนั้นในการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมีความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกล้ตัว สิ่งที่ประดิษฐ์เอง และสื่อสำเร็จรูป ผู้ดำเนินการวิจัยจึงจำเป็นต้อง ศึกษาและเรียนรู้วิธีการใช้ และเป้าหมายของสื่อแต่ละชนิดเพื่อนำมาใช้ให้สอดคล้อมกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
            ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์ค มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าคำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้าน
อนุกรม

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการออกเเบบรูปทรงต่างๆ

การนำมาประยุกต์ใช้
สอนเด็กในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ให้เด็กใช้สิ่งรอบตัวมาทำรูปทรงต่างๆให้เด็กรู้จักการออกแบบการคิดวิเคาะห์


เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์สอนเข้าใจง่าย จะเน้นการสอนที่เห็นภาพด้วยชัดเจน มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัด


ประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถทำตามคำสั่งของอาจารย์ได้ เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์เข้าสาย เนื่องด้วยมีเหตุจำเป็นต้องอยู่ร่วมการเปิดงาน แต่อาจารย์ก้แจ้งให้ทราบก่อน



สรุป การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

วันพุธที่10กุมภาพันธ์2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233

บรรยากาศในห้องเรียน
    ครูเข้ามาในห้องก็เช็คชื่อแล้วแจกกระดาษ A4 ให้ คนละ 1 แผ่น หลังจากนั้นก็ให้แต่ละคนตีตาราง 2 ตาราง โดยมีความยาวเท่ากัน คือ 10 เซนติเมตร แต่ความกว้างต่างกัน ตารางเเรก 2 เซนติเมตร ตารางที่ 2 3 เซนติเมตร และต่อด้วยการให้ดูวีดีโอ หลังจากนั้นให้ระบายสีในช่องตารางที่ทำขึ้นมา  แล้วเพื่อนๆก็ออกไปนำเสนองานของตัวเอง

นำเสนอบทความ 

คนที่1นางสาวมาลินี ทวีพงศ์ 

เรื่อง : เรขาคณิตคิดสนุก (แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน)
 จาก : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 โดย : อาจารย์สุรัชน์  อินทสังข์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษา

ศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

        อ.สุรัชน์ ได้กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เห็นผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ เพื่อจะช่วยให้เด็กคิดฝึกห่เหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตซ่อนอยู่ในหลายๆที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในส่วน และสนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันกับครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมส์ทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรมเช่น
              ให้พ่อแม่และเด็กทำเยลลี่ด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผน ว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคิดคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็ม ที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาศพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง  อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ
การประดิษฐ์กล่องของขวัญ
             การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ

สาระความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเกมการศึกษา  (เพิ่มเติม)
1.จับคู่ 
1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน             
1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ
1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก 
1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน
1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม
1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน
1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน
1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน
1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา อุปมัย
1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน
1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม 
2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)  

3. การวางภาพต่อปลาย (Domino) 
3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน
3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
3.3 เกมโดมิโนผสม
4. การเรียงลำดับ 
4.1 เกมเรียงลำดับขนาด
4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ 
5. การจัดหมวดหมู่ 
5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ
5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ
5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ
5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์ 
6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)
7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
8. พื้นฐานการบวก
9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการทำงาน
  • ทักษะการคิดต่อยอด

การนำมาประยุกต์ใช้
  • ฝึกให้เด็กคิดอย่างมีทักษะ
  • การนำเสนองานต่างๆ

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีการสอนแบบเป็นระบบ จะมีแบบมาให้ทำก่อนเสมอเพื่อความเข้าใจของนักศึกษา แล้วก็จะอธิบายเนื้อหาเพิ่มอีก

ประเมินผล

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน สามารถคิดต่อยอดได้จากการเเรเงาภาพในตาราง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน สนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี แต่งกายเหมาะสม สุภาพเรียบร้อย

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

วันพุธที่3กุมภาพันธ์2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233

บรรยากาศในห้องเรียน

       เข้ามาตอนเเรกอาจาารย์ก็แจกกระดาษให้เพื่อนตัดแบ่งครึ่งแล้วให้เขียนชื่อลงบนกระดาษที่เพื่อนตัดแล้วนำกระดาษที่เขียนชื่อไปติดไว้หน้ากระดาน ว่าใครตื่อก่อน07.00  หลัง07.00 และตื่นเวลา07.00 เมื่อเสร็จจากการนำกระดาษไปติดเเล้ว ครูก็อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมที่ให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียนของวันนี้ ครูอธิบายเสร็จเพื่อนๆก็ออกไปนำเสนอ บทความ  วิจัย  และวีดีโอที่ตนเองได้รับ  หลังจากนำเสนอเสร็จก็เริ่มเข้าสู่การเรียน


สาระความรู้ที่ได้รับ

เพลงคณิตศาสตร์ (ต่อ)

เพลงจับปู

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า    จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ   ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กล้ว ฉันกลัว ฉันกลัว    ปูหนีบหัวฉันที่หัวแม่มือ
ลา ล้า ลา..........................................................


เพลงนกกระจิบ

นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า 
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลงนับนิ้วมือ

นี่คือนิ้วมือของฉัน  มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว  มือขาวก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่่ ห้า  นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลงบวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาเเก้วแล้วไม่เจอ   ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ


เพลงแม่ไก่ออกไข่

แม่ไก่ออกใข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน  หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน  สิบวันได้ไข่สิบฟอง

คำคล้องจองคณิตศาสตร์

กลอนหนึ่ง-สอง

หนึ่ง สอง  มือตีกลอง ตะเเล๊ก แทร๊กแทร๊ก
สาม สี่ ดูให้ดี
ห้า หก ส่องกระจก
เจ็ด แปด ถือปืนแฝด
เก้า  สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้อง โอยอย 



     เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์นั้นมีประโยชน์ในการทำกิจกรรมเพื่อเรียกความสนใจจากเด็กเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นเพลงง่ายๆ และเป็นการสอดแทรกกิจกรรมประจำวันลงไปในเพลงเพื่อการสอนในหน่วยต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์ จะทำให้เด็กชอบในการเรียนคณิตศาสตร์ทำให้คณิตศาสตร์ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

ลักษณะหลักสูตรที่ดี

มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้

  • เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
  • เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  • แนะนำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
  • ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
  • เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
  • เปิดโอกาศให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฏิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยต้นเอง
หลังจากนั้นก็ออไปนำเสนอของเล่นที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์










ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการนับ
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการคิดดัดแปลงและยืดหยุ่น
การนำมาประยุกต์ใช้
  • การเช็คการตื่นนอนตอนเช้าของเด็ก
  • การใช้ภาพแทนจำนวนตัวเลขเด็กจะจำได้
  • การทำท่าทางประกอบกับการร้องเพลง
  • เราต้องจำเนื้อเพลงและทำนองเพลงให้แม่นยำ

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีการยกตัวอย่างให้นักเรียนเห็นภาพ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ออกไปนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย เมื่อไม่เข้าใจก็จะถามครู มีบางช่วงที่ง่วงมาก หันไปคุยกับเพื่อนเป็นช่วง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆในช่วงแรกตั้งใจเรียน แต่ในช่วงหลังคุยกันนิดหน่อย แต่ก็จดงานที่ครูอธิบาย

ประเมินอาจารย์

แต่งกายเรียบร้อย มีการวางแผนในการสอน จะย้ำคำถามกับนักศึกษาบ่อยๆ