Blue Snowflake ( ユニか )

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

วันพุธที่23มีนาคม2559 เวลา08.30-12.30ห้อง401

บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้เป็นครั้งแรกของการมาเรียนที่อาคาร34ซึ่งเป็นอาคารใหม่ เป็นห้องที่ใหญ่มากเย็นสบายกว้าง มีอุปกรณ์ครบในการเรียน มีเสียงหัวเรามากมายในวันนี้มีการขึ้นห้องช้านิดหน่อยเพราะไม่แน่ใจว่าอาจารย์จะให้เรียนที่ไหน

สาระการเรียนรู้

  • เพื่อนๆออกมานำเสนองานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย บทความ วิจัย  วันนี้ดิฉันนำเสนอบทความเรื่องคณิตศาสตร์กับชีวิต อาจารย์มีการยกตัวอย่างว่าบทความนี้สามารถนำมาปรับใช้กับเด็กได้ เมื่อนำเสนอครบทุกคนก็เข้าสู้เนื้อหาการเรียนรู้


คนที่1  นางสาวสุดารัตน์  อาจจุฬา 

บทความ เรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
 เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ
-การ เรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง   เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
     คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น
-การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
-การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)
- การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ)
- การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง)
- การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ
เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้
ความรู้เพิ่มเติม
ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป   ทักษะที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนานั้นอาจแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่

      1. ทักษะการสังเกต(Observation)
                   คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป

      2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
                   คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้

      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
                   คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ

      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
                   คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้

      5. ทักษะการวัด(Measurement)
                   เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม

      6. ทักษะการนับ(Counting)
                   แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย

    7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
                   เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้

ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ
        1. ทักษะในการจัดหมู่
        2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
        3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)

คนที่2 ดิฉัน  เรื่องคณิตศาสตร์กับชีวิต
  • มีการยกตัวอย่างของ 6 สาระทางคณิตศาสตร์เข้ามาเชื่อมโยงกับบทความและวิจัยของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ 
            -สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
            -สาระที่2 การวัด
            -สาระที่3 เรขาคณิต
            -สาระที่4 พีชคณิต
            -สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            -สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

  • การเขียนแผนของหน่วยที่เราเลือกไว้เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาโดยแบ่งหัวข้อกันกับเพื่อนคนละหัวข้อ แล้วนำมานำเสนอกับอาจรย์ ทีละกลุ่มพูดว่าเราจะจัดกิจกรรมอะไรให้มีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในแผนของแต่ละวัน โดยอาจารย์ให้คำแนะนำ /องค์ประกอบของแผนมีดังนี้
  1. ชื่อกิจกรรม
  2. วัตถุประสงค์
  3. วิธีการดำเนินการ 
            -ขั้นนำ 
            -ขั้นสอน
            -ขั้นสรุป
    
      4. สื่อ
      5.ประเมินผล

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการเชื่อมโยง
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

นำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้กับเด็กได้ นำแผนการสอนที่เขียนไปใช้ได้จริง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กโดยมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคการสอนคือจะให้ทุกกลุ่มพูดหัวข้อของตัวเองวนไปครบทุกกลุ่มแล้วก็จะมาวิเคราะห์ที่ละกลุุ่มว่าจะต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมตรงไหนบ้าง 

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์เสนอเเนะเพิ่มเติมสามารถนำมาปรับใช้ได้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเตรียมกิจกรรมของตัวเองมาอย่างดีและมานำเสนอให้อาจารย์ฟัง และรับฟังคำติชมจากอาจารย์

ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายได้อย่างระเอียดมากทำให้เข้าใจ











วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

วันพุธที่16 มีนาคม 2559 เวลา08.30-12.30 ห้อง 233

บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในวันนี้ค่อนข้างร้อนมากเพราะวันวันย้ายตึกทำให้ห้องที่เรียนมีฝุ่น วันนี้ไม่ได้มรการเรียนมากมายอาจารย์ตรวจงานที่ทำมา แล้วเเนะนำให้ไปปรับปรุ่งแก้ไข

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • อาจารย์สรุปแผนผังของหน่วยการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มทำมา อาจารย์แนะนำวิธีการเขียนเพิ่มเติมให้ และให้งานกลับไปทำคือ ให้เราเอาหัวข้อของเราที่แยกย่อยออกมาจากหน่วยหลักแล้วมาเขียนกิจกรรมว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้เด็ก มีทั้งหมด 5 หัวข้อ  ดังนี้
  1. ชนิด
  2. ลักษณะ
  3. การดูเเลรักษา
  4. ประโยชน์
  5. ข้อควรระวัง
ตามหัวข้อทั้ง5นี้ให้บอกรายละเอียดว่าเราจะใช้หัวข้อเหล่านี้จัดกิจกรรมให้เด็กอย่างไร มีวิะีการจัดอย่างไร ต้องมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง




ทักษะที่ได้รับ
  • การคิดอย่างมีระบบ
  • การวิเคราะห์
  • การแยกหมวดหมู่
  • การฟัง
  • การแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้


สามารถนำวิธีการเขียนแผนผังกิจกรมมไปใช้กับเด็กได้ การเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็ก การแยกชนิด ลักษณะ การดูแลรักษา ประโยชน์ ข้อควรนะวัง 


เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะอธิบายทีละหัวข้อทีละกลุ่มเพื่อให้แต่ละกลุ่มเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์อธิบาย สามารถนำมาปรับใช้ได้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่ละกลุ่มตั้งใจเรียน นำคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความมุ่งมั่นในการสอนมากในสัปดาห์นี้ถึงเเม้ว่าห้องเรียนจะไม่มีความพร้อม มีฝุ่นแต่อาจารย์ก็อธิบายให้นักศึกษาฟังได้ อาจารย์น่ารัก แต่งกายสุภาพ

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ตรั้งที่9

วันพุธที่9มีนาคม 2559 เวลา08.30-12.30 ห้อง233


บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้ อาจารย์เริ่มจากการทบทวนความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ว่ามีการจัดกิจกรรมอย่างไร นักศึกษาได้ความรู้อะไรบ้างจากการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้

สาระความรู้ที่ได้รับ


เพื่อนนำเสนอวีดีโอ

คนที่1นางสาวภทรธร รัชนิพนธ์ 

 เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมพิมพ์ภาพจากการแปรสภาพวัสดุธรรมชาติ

หลักการสอนคณิตศาสตร์ไวดังนี้
1. สอนให้สอดคลองกับชีวิตประจําวันการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็น ความจําเป็น และประโยชนของสิ่งที่ครูกําลังสอนดังนั้น การสอนคณิตศาสตร์แกเด็กจะต้อง สอดคลองกับกิจกรรมในชีวิตประจําวัน เพื่อให้เด็กตระหนักถึงเรื่องคณิตศาสตร์ทีละน้อย และ ช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในขั้นตต่อไปแต่สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อนกับครูลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

2. มีเป้าหมายและมีการวางแผนที่ดีครูจะต้องมีการเตรียมการเพื่อให้เด็กไดค่อย ๆ พัฒนาการเรียนรูขึ้นเองและเป็นไปตามแนวทางที่ครูวางไว

3. เปิดโอกาสใหเด็กไดรับประสบการณ์ที่ทําให้พบคําตอบด้วยตนเอง เปิดโอกาส ให้เด็กไดรับประสบการณ์ที่หลากหลาย และป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีโอกาสไดลง มือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการสนับสนุนใหเด็กไดคค้นพบคําตอบด้วยตนเอง พัฒนาความคิดรวบยอด และความคิดรวบยอดไดเองในที่สุด

4. เอาใจใสเรื่องการเรียนรู้และลําดับขั้นการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก ครู ตองมีการเอาใจใสเรื่องการเรียนรูเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะลําดับขั้น การพัฒนาความคิดรวบ ยอด ทักษะทางคณิตศาสตร์โดยคํานึงถึงหลักทฤษฎี

5. ใช้วีการจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม การจด บันทึกด้านทัศนคติ ทักษะ และความรูความเข้าใจของเด็ก ในขณะทํากิจกรรมต่าง ๆ เป็นวิธีการที่ทําให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมไดเหมาะสมกับเด็ก

บทบาทของครูในการจัดประสบการณด้านคณิตศาสตร์  กล่าววา การจัดประสบการณและกิจกรรมทางด้าน คณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสําหรับเด็กปฐมวัย ตองมีกระบวนการและขั้นตอนที่ครูและผู้เกี่ยวของ 43 ตองศึกษาและทําความเข้าใจเพื่อจะไดดําเนินการไดอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด ซึ่งมีนักการศึกษาไดเสนอแนะบทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย สรุปถึงบทบาทของครูว่า การจัดการเรียนการสอนของครูที่มีคุณภาพ ควรจะเป็นปัจจุบันกับเหตุการณ์และไม่เป็นทางการ แตไม่ได้หมายความว่าจะมีการวางแผนหรือไมมีระบบบทบาทของครูในการจัดประสบการณ์ ด้านคณิตศาสต์รสําหรับเด็กปฐมวัย ครูจะต้องมีความรับผิดชอบสูงมีการวางแผนการจัดสิ่งแวดล้อม แหล่งการเรียนรู้ให้กับเด็กซึ่งจะทําให้เด็กแสวงหาคําตอบ การจัดกิจกรรมเหล่านี้เป็นการวางพื้นฐาน ความคิดรวบยอดคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

คนที่2นางสาวจิราภรณ์  ฝักเขียว


  เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

        โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรมเสริม
ประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบ
ของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น

กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้รู้จักสัตว์เพิ่ม
มากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาใน
นิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย

กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีน้ำตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดงของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกันทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถกะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น

คนที่3นางสาวสุวนันท์ สายสุด
นำเสนอ วิจัย 
(แก้ไข) เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียน รู้

-ความมุ่งหมายของวิจัย
  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สมมติฐานในการวิจัย
             เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี พัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

-ขอบเขตการวิจัย
             นักเรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

-สรุปผลวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

-แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้
มโนท้ศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์
สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้

กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหา
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

ขั้นสอน
1.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
2.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
3.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ

ขั้นสรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก

  • อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอนแบบโปรเจค คือ 

 การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
  •  การจัดห้องตามสภาพแวดล้อม
  • การนับเลข 531 357
หลังจากที่อาจารย์ทบทวนความรู้ให้แล้ว ก็ให้เพื่อนออกมานำเสนอหัวข้องานที่ตนเองได้รับผิดชอบ เมื่อนำเสนอครบทุกคนแล้ว ก็แจกกระดาษให้คนละ1 แผ่น แล้วให้ตั้งชื่อหน่วยว่าเราจะทำหน่วยอะไร  โดยหน่วยที่ตั้งจะต้องเกี่ยวข้องกับ 4 ข้อนี้
  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  2. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
  3. บุคคลและสถานที่
  4. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
ดิฉันเลือกทำหน่วยผลไม้  จะเชื่อมโยงกับหัวข้อที่4 คือธรรมชาติรอบตัวเด็ก

  • ชนิดของผลไม้
  • ลักษณะของผลไม้
  • รสชาติของผลไม้
  • กลิ่นของผลไม้
  • ขนาดของผลไม้
  • รูปร่างของผลไม้
  • สีของผลไม้
  • พื้นผิวของผลไม้
  • ประโชยน์ของผลไม้
  • วิธีการเจริญเติบโตของผลไม้
     หลังจากที่เพื่อนๆ ทุกคนทำเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้นำไปส่งแล้วนั่งอ่านของทุกคนว่ามีตรงไหนต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมบ้างตามความเหมาะสมของหัวข้อ  เมื่อตรวจครบทุกคนก็ให้แบ่งกลุ่มเพื่อจะให้เลือกหัวข้อของใครคนใดคนหนึ่งมา เพื่อจะมานำเสนอในสัปดาห์หน้า


ทักษะที่ได้รับ

  • การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
  • กระบวนการทำ
  • การวางแผน
  • การเลือกหัวข้อ
การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนในวันนี้ไปใช้กับเด็กได้ อย่างเช่นการสอนเรื่องผลไม้ อาจจะให้เด็กๆช่วยคิดชื่อผลไม้ ประโยชน์ของผลไม้ สีของผลไม้ ว่ามีสีอะไรบ้าง ทำให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะมีการเตรียมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี จะสอนแบบให้นักศึกษาเข้าใจจริงๆ ถึงจะผ่านเรื่องนั้นไป แต่ถ้านักศึกษายังไม่เข้าใจ จะไม่ปล่อยผ่านไปเด็ดขาด

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
วันนี้เป็นวันที่ต้องออกไปนำเสนอบทความ แต่บทความที่เตรียมมายังไม่ดีพอ เลยต้องแก้ไข หาบทความใหม่ไปนำเสนอในอาทิตย์ถัดไป

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานของตนเองที่ได้รับผิดชอบ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเหมาะสม สุภาพ มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี




หาบทความเพิ่มเติม

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (ครั้งที่5 ฉบับ ปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550

 คณิตศาสตร์กับชีวิต

               ในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ (1) หาสิ่งที่ต้องการทราบ (2) ว่างแผนการแก้ปัญหา (3)ค้นหาคำตอบ (4)ตรวจสอบ จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ ระเบียบ
                จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่ การคำนวณในเรื่องของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย  นอกจากนนี้ยังมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุมการทำงาน
                การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้แก่ ปูน หิน ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย โดยการผสมปูน ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกันในการใช้งานเช่น พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เป็นต้น
                การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด
                ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
                จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การวางแผนการทำงานในรูปแบบต่างๆ ล้วนสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนในฐานะที่กำลังศึกษาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่กกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ของคณิตศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

วันพุธที่2มีนาคม2559 (ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์)

สรุปการจัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์


  •   การเรียนการสอนของครูที่โรงเรียน จะมีการใช้สัญลักษณืเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  คือครูจะสำรวจข้อมูลว่าเด็กเเละคราูแต่ละคนชอบปลาอะไรบ้าง และชอบปลาชนิดไหนมากกว่ากัน  และมีจำนวนเท่าใด
  • การช่วยกันระดมความคิดในการหาหัวเรื่องที่จะเรียน
  • การแยกเเยะสี  ขนาด  การจัดกลุ่ม
  • การวัด  การคาดคะเน
  • การนับจำนวนของเพื่อนในห้องเรียน  
  • ในการเรียนจะบรูรณาการทั้ง6กลุ่มสาระ จะครอบคุมทั้งหมด






ภาพบรรยากาศในห้องเรียนและของเล่นที่เสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์