Blue Snowflake ( ユニか )

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

วันพุธที่10กุมภาพันธ์2559 เวลา08.30-12.30ห้อง233

บรรยากาศในห้องเรียน
    ครูเข้ามาในห้องก็เช็คชื่อแล้วแจกกระดาษ A4 ให้ คนละ 1 แผ่น หลังจากนั้นก็ให้แต่ละคนตีตาราง 2 ตาราง โดยมีความยาวเท่ากัน คือ 10 เซนติเมตร แต่ความกว้างต่างกัน ตารางเเรก 2 เซนติเมตร ตารางที่ 2 3 เซนติเมตร และต่อด้วยการให้ดูวีดีโอ หลังจากนั้นให้ระบายสีในช่องตารางที่ทำขึ้นมา  แล้วเพื่อนๆก็ออกไปนำเสนองานของตัวเอง

นำเสนอบทความ 

คนที่1นางสาวมาลินี ทวีพงศ์ 

เรื่อง : เรขาคณิตคิดสนุก (แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน)
 จาก : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 โดย : อาจารย์สุรัชน์  อินทสังข์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษา

ศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

        อ.สุรัชน์ ได้กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เห็นผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ เพื่อจะช่วยให้เด็กคิดฝึกห่เหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตซ่อนอยู่ในหลายๆที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในส่วน และสนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันกับครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมส์ทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรมเช่น
              ให้พ่อแม่และเด็กทำเยลลี่ด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผน ว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคิดคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็ม ที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาศพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง  อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ
การประดิษฐ์กล่องของขวัญ
             การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ

สาระความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเกมการศึกษา  (เพิ่มเติม)
1.จับคู่ 
1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน             
1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ
1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก 
1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน
1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม
1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน
1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน
1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน
1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา อุปมัย
1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน
1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม 
2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)  

3. การวางภาพต่อปลาย (Domino) 
3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน
3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
3.3 เกมโดมิโนผสม
4. การเรียงลำดับ 
4.1 เกมเรียงลำดับขนาด
4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ 
5. การจัดหมวดหมู่ 
5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ
5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ
5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ
5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์ 
6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)
7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
8. พื้นฐานการบวก
9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการทำงาน
  • ทักษะการคิดต่อยอด

การนำมาประยุกต์ใช้
  • ฝึกให้เด็กคิดอย่างมีทักษะ
  • การนำเสนองานต่างๆ

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์มีการสอนแบบเป็นระบบ จะมีแบบมาให้ทำก่อนเสมอเพื่อความเข้าใจของนักศึกษา แล้วก็จะอธิบายเนื้อหาเพิ่มอีก

ประเมินผล

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน สามารถคิดต่อยอดได้จากการเเรเงาภาพในตาราง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน สนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี แต่งกายเหมาะสม สุภาพเรียบร้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น