Blue Snowflake ( ユニか )

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

วันพุธที่23มีนาคม2559 เวลา08.30-12.30ห้อง401

บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้เป็นครั้งแรกของการมาเรียนที่อาคาร34ซึ่งเป็นอาคารใหม่ เป็นห้องที่ใหญ่มากเย็นสบายกว้าง มีอุปกรณ์ครบในการเรียน มีเสียงหัวเรามากมายในวันนี้มีการขึ้นห้องช้านิดหน่อยเพราะไม่แน่ใจว่าอาจารย์จะให้เรียนที่ไหน

สาระการเรียนรู้

  • เพื่อนๆออกมานำเสนองานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย บทความ วิจัย  วันนี้ดิฉันนำเสนอบทความเรื่องคณิตศาสตร์กับชีวิต อาจารย์มีการยกตัวอย่างว่าบทความนี้สามารถนำมาปรับใช้กับเด็กได้ เมื่อนำเสนอครบทุกคนก็เข้าสู้เนื้อหาการเรียนรู้


คนที่1  นางสาวสุดารัตน์  อาจจุฬา 

บทความ เรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
 เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ
-การ เรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง   เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
     คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น
-การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
-การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)
- การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ)
- การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง)
- การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ
เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้
ความรู้เพิ่มเติม
ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป   ทักษะที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนานั้นอาจแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่

      1. ทักษะการสังเกต(Observation)
                   คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป

      2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
                   คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้

      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
                   คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ

      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
                   คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้

      5. ทักษะการวัด(Measurement)
                   เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม

      6. ทักษะการนับ(Counting)
                   แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย

    7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
                   เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้

ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ
        1. ทักษะในการจัดหมู่
        2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
        3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)

คนที่2 ดิฉัน  เรื่องคณิตศาสตร์กับชีวิต
  • มีการยกตัวอย่างของ 6 สาระทางคณิตศาสตร์เข้ามาเชื่อมโยงกับบทความและวิจัยของเพื่อนที่ออกมานำเสนอ 
            -สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
            -สาระที่2 การวัด
            -สาระที่3 เรขาคณิต
            -สาระที่4 พีชคณิต
            -สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            -สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

  • การเขียนแผนของหน่วยที่เราเลือกไว้เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาโดยแบ่งหัวข้อกันกับเพื่อนคนละหัวข้อ แล้วนำมานำเสนอกับอาจรย์ ทีละกลุ่มพูดว่าเราจะจัดกิจกรรมอะไรให้มีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในแผนของแต่ละวัน โดยอาจารย์ให้คำแนะนำ /องค์ประกอบของแผนมีดังนี้
  1. ชื่อกิจกรรม
  2. วัตถุประสงค์
  3. วิธีการดำเนินการ 
            -ขั้นนำ 
            -ขั้นสอน
            -ขั้นสรุป
    
      4. สื่อ
      5.ประเมินผล

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการเชื่อมโยง
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

นำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้กับเด็กได้ นำแผนการสอนที่เขียนไปใช้ได้จริง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กโดยมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคการสอนคือจะให้ทุกกลุ่มพูดหัวข้อของตัวเองวนไปครบทุกกลุ่มแล้วก็จะมาวิเคราะห์ที่ละกลุุ่มว่าจะต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมตรงไหนบ้าง 

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์เสนอเเนะเพิ่มเติมสามารถนำมาปรับใช้ได้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเตรียมกิจกรรมของตัวเองมาอย่างดีและมานำเสนอให้อาจารย์ฟัง และรับฟังคำติชมจากอาจารย์

ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายได้อย่างระเอียดมากทำให้เข้าใจ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น